จระเข้ที่ศรีราชาฟาร์ม

สำหรับการจัดตั้งศรีราชาฟาร์มขึ้นมานั้น มีวัตถุประสงค์เพื่อแปรรูปผลิตภัณฑ์จระเข้ทั้งหมด โดยทั่วไปนั้นฟาร์มจระเข้ทั่วโลกจะทำการเพาะเลี้ยงแล้วจึงขายให้กับโรงฟอกหนังโดยมิได้ทำการแปรรูปใดๆเพิ่มเติม

ส่วนโรงฟอกหนังก็จะทำการฟอกหนัง และส่งให้กับโรงเครื่องหนังอีกต่อหนึ่ง โดยไม่สนใจส่วนอื่นๆของจระเข้เลย เช่น เนื้อ หรือเครื่องใน ประกอบกับทางสหรัฐอเมริกาและจีน ได้ทำการวิจัยว่าเนื้อจระเข้มีคุณสมบัติซึ่งประกอบด้วยกรดอะมิโนสูงมาก อีกทั้งยังมีโปรตีน วิตามิน และแร่ธาตุสูง ซึ่งมีสรรพคุณในการบำรุงเลือด ไต และเสริมสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายได้เป็นอย่างดี

ที่ศรีราชาฟาร์มจะมีวงจรการผลิตแบบครบวงจร นอกจากเนื้อและเครื่องในจะช่วยลดต้นทุนหนังจระเข้และแปรรูป โดยการฟอกเครื่องในบริษัทได้เอง

นอกจากนั้นหนังจระเข้นับเป็นหนังสัตว์ที่ได้รับการยอมรับและความนิยมว่ามีคุณค่า มีความทนทานสูงสุด
ในขณะที่ในความเป็นจริงแล้วหนังจระเข้มีมากกว่า 10 ชนิด แต่มีเพียง 3 ชนิดเท่านั้นที่เป็นหนังประเภทคลาสสิค หมายถึงหนังท้องที่ไม่มีแคลเซียม หรือกระดูกปนอยู่อยู่ ทำให้เมื่อนำไปฟอกแล้วมีความนุ่มนวลและความยืดหยุ่นสูง ไม่แตกหักง่ายเหมือนหนังที่ไม่คลาสสิคจระเข้สายพันธุ์ไทยก็เป็นหนึ่งใน 3 ชนิดด้วย อีกทั้งนังมีลายหนังท้องที่สวยงามที่สุด คือลายหนังเรียบเรียงตัวกันอย่างมีระเบียบ ดังนั้นจึงพอสรุปได้ว่า จระเข้พันธุ์ไทยนั้นดีและสวยที่สุดในโลก

จึงเป็นที่มาของศูนย์พัฒนาผลิตภัณฑ์เครื่องของศรีราชาฟาร์ม (เอเชีย) จำกัด กล่าวถึงที่มาของการพัฒนาธุรกิจแบบครบวงจร โดยเพิ่มในส่วนของศูนย์พัฒนาเครื่องขึ้นมา เพื่อรองรับผลผลิตจากจระเข้และเพื่อต้องการให้เกิดมูลค่าสูงสุดของจระเข้พันธุ์ไทย โดยนำข้อได้เปรียบของหนังมาผนวกกับการออกแบบและตัดเย็บโดยช่างและนักออกแบบ ภายใต้เครื่องหมายการค้า “ศรีราชา”

นอกจากนั้นแล้วในเรื่องของการส่งออกของจระเข้จะสามารถส่งได้ทั้งกรณีที่เป็นจระเข้เป็นๆและมีชีวิต นั่นคือมีตลาดของการท่องเที่ยวรองรับอยู่แล้ว

ศรีราชาฟาร์มได้มีโครงการ “โรงเรียนไกรทอง” ขึ้นโดยมีเป้าหมายคือ การขยายฐานการลงทุนไปยังประเทศจีนและผู้ที่ได้รับการฝึกอบรมแล้วเท่านั้นจึงจะได้ไปแสดงโชว์ยังสถานที่ที่ได้รับมอบมา ซึ่งและที่จะทำสัญญากันอย่างต่ำ 6 เดือน หรือเฉลี่ยประมาณ 1 ปี แต่ละชุดประกอบด้วยจระเข้จำนวน 10 ตัว และคณะโชว์อย่างต่ำ 3-5 คน

ในด้านการส่งออก เนื้อจระเข้ที่ตลาดรองรับที่ใหญ่ที่สุดคือ จีน และฮ่องกง ส่วนหนังจระเข้เดิมทีที่นี่ยังไม่มีโรงฟอก ดังนั้นการส่งออกจะส่งออกหนังเค็ม หรือหนังหมักเกลือ แต่ในปัจจุบันมีการส่งออกในรูปของสินค้าสำเร็จรูป คือเป็นหนังที่ฟอกแล้ว ตลาดที่สำคัญคือ ยุโรป ญี่ปุ่น และจีน เนื่องจากตลาดยุโรปและญี่ปุ่นเป็นตลาดเครื่องหนังที่มีความต้องการสูงมาก สำหรับหนังเกรดเอและบี

การเลี้ยงจระเข้ขุนกันอย่างหนาแน่นที่ฟาร์มกว่า 60,000 ตัวจึงไม่มีผลดีนัก จะทำให้หนังตกเกรด อีกทั้งยังต้องใช้ระยะเวลาในการเลี้ยงยาวนาน คือมากกว่า 3 ปี จระเข้จึงจะได้ขนาดนำไปสู่ “โครงการเลี้ยงจระเข้ขุน” นำไปสู่เกษตรกรมาตั้งแต่ปลายปี 2540 ซึ่งปัจจุบันมีปัจจุบันมีจระเข้ประมาณ 40,000 ตัวจากสมาชิกทั่วประเทศมากกว่า 300 ฟาร์ม และเพื่อเป็นการยืนยันว่าตลาดจะได้รับการตอบสนอง เพื่อการกระจายจระเข้ขุนสู่สมาชิก จะมีข้อได้เปรียบซึ่งเมื่อเลี้ยงจระเข้ไม่หนาแน่น ไม่เครียด จระเข้ก็จะได้โตเร็วจึงจะได้ผลผลิตเร็วกว่าฟาร์มเลี้ยงเองประมาณ 1 ปี