เลี้ยงจระเข้ เลี้ยงง่าย กินไม่เปลือง แต่เป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก

เลี้ยงจระเข้ เลี้ยงง่าย กินไม่เปลือง แต่เป็นเศรษฐีได้ไม่ยาก
เป็นประโยคที่ดูจะเป็นจุดขาย เป็นสิ่งจูงใจสำคัญที่ทำให้เกษตรกรหันมาสนใจอาชีพการเลี้ยงจระเข้ ภายใต้โครงการส่งเสริมอาชีพให้เกษตรกรหันมาเลี้ยงจระเข้ขุนของศรีราชา ภายใต้ต้นทุนที่มีอัตราการแลกเนื้อที่ถือว่ากินน้อยกว่าไก่ สามารถเลี้ยงได้โดยไม่ต้องฉีดวัคซีน ไม่ต้องนำเข้าอย่างอาหารไก่ ในทางตรงกันข้ามอาหารจระเข้นั้นสามารถหาซื้อได้ง่ายและสะดวกตามพื้นที่ท้องถิ่นนั้นๆ

โครงการดังกล่าวของศรีราชา เกิดขึ้นเมื่อปลายปี 2540 เนื่องจากความพยายามของศรีราชาฟาร์มเอง ที่ต้องการดำเนินการธุรกิจเกี่ยวกับจระเข้ที่ครบวงจร นับตั้งแต่การเพาะพันธุ์จระเข้ไปจนถึงการเลี้ยงขุนเอง และการขายลูกจระเข้ให้กับเกษตรกรนำไปเลี้ยงขุนก่อนจะซื้อกลับมาแปรรูปในรูปแบบต่างๆภายใต้การดำเนินงานของบริษัทศรีราชา (เอเซีย) จำกัด อีกทีหนึ่งนั้นเอง
นสิ้นเดือนลอย่างเดียว อาจจะไม่คุ้มเพราะเขาให้อาหาร

ศรีราชาฟาร์ม จากเลี้ยงหมู….ขยายสู่ฟาร์มจระเข้ครบวงจร
หลายคนอาจจะรู้จักศรีราชาฟาร์มในภาพลักษณ์ของ “สวนเสือ” กลางเมืองศรีราชา กลุ่มธุรกิจดังกล่าวนับเป็นบริษัทที่ดำเนินการเกี่ยวกับการปศุสัตว์ที่เก่าแก่ลุ่มหนึ่ง ซึ่งดำเนินงานมากว่า 25 ปีแล้ว โดยเริ่มต้นจากการทำเป็นฟาร์มหมูก่อนที่จะพัฒนามาสู่การเลี้ยงจระเข้และสวนเสือ จนกลายเป็นสวนสัตว์ครบวงจรเช่นปัจจุบัน

การเริ่มต้นธุรกิจการเลี้ยงจระเข้ในส่วนการลงทุนประมาณ 500 ล้านบาท ซึ่งจะหนักไปทางไปที่การซื้อพ่อแม่พันธุ์ เนื่องจากการมีพื้นที่เดิมอยู่แล้ว โดยใช้พื้นที่ประมาณ 400 ไร่ ซึ่งจะเน้นในเรื่องของการเพาะพันธุ์เป็นสำคัญภายใต้หลักการที่จะต้องการพัฒนาพันธุ์ที่ดีให้เหมาะสมกับความต้องการของตลาดให้มากที่สุด อันเป็นที่มาของความต้องการตลาดจระเข้ที่มากขึ้น จนทำให้ผลิตไม่ทันกับความต้องการของตลาด และกลายเป้นที่มาของโครงการส่งเสริมให้เกษตรกรเลี้ยงจระเข้ขุนแล้วขายให้กับฟาร์มนั่นเอง

ภายหลังการเปิดตัว โครงการส่งเสริมการเลี้ยงจระเข้ให้กับเกษตรกร เมื่อปลายปี 2540 ที่ผ่านมาแล้ว ปรากฏว่าโครงการดังกล่าวได้รับความสนใจอย่างมากจากเกษตร ทำให้ปัจจุบันศรีราชาฟาร์มมีลูกฟาร์มมากกว่า 300 รายทั่วประเทศแล้ว

โดยในช่วงแรกๆทางศรีราชาฟาร์ม ใช้วิธีการทำตลาดโดยเจาะไปที่กลุ่มเกษตรกรที่ทำฟาร์มหมูหรือไก่ก่อนว่า เขาสนใจโครงการแบบนี้บ้างไหม ซึ่งการที่เจาะกลุ่มเกษตรกรเหล่านี้เป็นอันดับแรกก็ด้วยเหตุผลที่ว่า หากเกษตรกลุ่มนี้สนใจที่จะเลี้ยงจระเข้แล้วจะไม่มีต้นทุนในการเลี้ยงสูงมากนัก เพราะเป็นคนที่มีฟาร์มอยู่แล้ว เพราะหมู ไก่ ที่ตายแล้วนำมาชำแหละให้จระเข้กินได้ ภายใต้การดำเนินงานที่ให้ความมั่นใจกับลูกค้าว่า ทางฟาร์มนั้นยินดีรับซื้อคืนจากเกษตรกรในราคาที่ได้ตกลงกันไว้